เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่สามารถแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรได้โดยเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเพื่อนำไปสู่ผลผลิตทางด้านต่างๆ ได้แก่ผลผลิตทางการแพทย์ เช่น การผลิตอินซูลิน – ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น การผลิตผงปรุงแต่งรสอาหาร – ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย – ผลผลิตทางด้านพลังงาทดแทน เช่น แอลกอฮอล์ และอื่น ๆ เทคโนโลยีชีวภาพจึงกลายเป็นความหวังของมนุษย์ในการเป็นต้นบทของอุตสาหกรรมในอนาคต ประเทศไทยมีผลผลิตทางการเกษตรและวัสดุเหลือทิ้งมาก ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการนำมาแปรรูปด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคา เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าภายในประเทศและยังสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้ด้วย เทคโนโลยีชีวภาพจึงมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและการเสียดุลการค้าของประเทศดีขึ้นได้ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธูศาสตร์ ภายใต้หน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งเริ่มจากงานวิจัย และได้ร่วมสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพของคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลิตบัณฑิตระดับ ปริญญาเอก-โท และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาที่สนใจในวิชาด้านนี้ สถาบันฯได้ปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดเวลา ได้พัฒนาผลงานออกสู่สังคมมากมาย เช่น การผลิตกรดจิบเบอเรลลิค จากเชื้อราจนสามารถพัฒนาแปรรูปออกจำหน่ายได้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่ เป็นต้น ปัจจุบันงานวิจัยเด่นของสถาบันที่ผ่านมา ได้จัดแยกเป็นกลุ่มวิจัยออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ
1. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology)
2. กลุ่มวิจัยการผลิตแอนติบอดี (Antibody Production)
3. กลุ่มวิจัยโปรตีนและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ (Protein and Genetic Engineering)
4. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร (Argricultural Technology)
ไม่มีหัวข้อ